วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ไทยครองอันดับ 2 ของโลก เสียชีวิตบนท้องถนน


ในภาพอาจจะมี ข้อความ








ไทยครองอันดับ 2 ของโลก เสียชีวิตบนท้องถนน
และเป็นอันดัน 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์มากที่สุด
.
แม้ปัจจุบันไทยจะมีศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ศปถ. ที่ทำหน้าในการควบคุม และประเมินจุดเสี่ยง เพื่อหามาตรการในลดอุบัติเหตุ รวมไปถึงมีการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนตัวเลขผู้เสียชีวิตกลับไม่ลดลง
.
โดยผ่านมาเครือข่ายทำงานด้านอุบัติเหตุ ได้ร่วมกันถอดบทเรียน และได้ข้อสรุปว่า การรณรงค์เฉพาะช่วงเทศกาล #แทบไม่ได้ช่วยให้อุบัติเหตุลดลง แต่สิ่งที่จะช่วย คือการจัดตั้งกลไกเฉพาะ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อเสนอให้ทำ #แผนยุทธศาสตร์ เน้นการยกระดับการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ สร้างแกนนำเครือข่าย และภาคีทุกภาคส่วนสนับสนุนดูแลและป้องกันอุบัติเหตุ และบังคับกฎกมายเข้มงวดต่อผู้กระทำผิด ต่อเนื่องในทุกพฤติกรรมเสี่ยง และจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาบังคับใช้
.
ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก ก็เสนอให้ทุกประเทศมีองค์กรหลักที่มีอำนาจ และงบประมาณ มาประสานงาน และกำกับติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่า #หลีดเอเจนซี (Lead Agency) เช่นในประเทศ #เวียดนาม ที่นี่ มีระบบการทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงคมนาคม กับ ตำรวจที่ร่วมกันออกแบบโครงสร้าง และจัดการข้อมูลร่วมกัน
.
ซึ่งผลที่ได้คือมีประชาชนที่ขับขี่รถจักรยานต์สวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 100% ภายใน 1 ปีที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างการทำงาน ขณะทีไทยมีรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน แต่กลับมีผู้ที่สวมหมวกนิรภัยเพียง 10 ล้านคน เท่านั้น
.
ทั้งนี้โครงสร้างการทำงานทั้งหมดของเวียดนามจะมีงบประมาณเบ็ดเสร็จ มีสถิติการวิจัย ข้อมูลทางวิชาการครบถ้วน จึงสามารถทำให้ทำงานได้รวดเร็ว และทันท่วงที เช่น มีผลการสำรวจจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันก่อนเกิดเหตุ มีเครือข่ายในพื้นที่ สามารถทำงานร่วมกันได้ทันทีในกรณีเกิดเหตุ มีมาตรการทางกฎหมายที่คิดบทลงโทษที่เหมาะสมร่วมกัน เพื่อให้ คน-รถ-ถนน ได้รับความปลอดภัย
.
ขณะที่ประเทศไทย ผู้จัดการ ศปถ. เน้นย้ำว่า การแก้ปัญหาที่พฤติกรรมรายบุคคล เป็นเรื่องยาก เพราะไทยยังไม่มีการนำเอาเรื่องความรับผิดชอบบนท้องถนน ไปสอนตั้งแต่อยู่ในห้องเรียน จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ตัวเลขอุบัติเหตุไม่ค่อยลดลง
.
ดังนั้น นอกจากจะต้องสร้างกลไกเฉพาะ อย่าง หลีดเอเจนซี่ เพื่อดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ กลไกทางสังคมก็ยังต้องมีบทบาทสำคัญ เข้ามาช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมที่ไม่เหมาะบนท้องถนน
.
โดยนักวิชาการยืนยันว่า พฤติกรรมส่วนตัว มีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม สังคม ที่คนคนนั้นอาศัยอยู่ ดังนั้นถ้ากลไกสังคมเข้มแข็ง ทั้งการเฝ้าระวังก่อนเกิดเหตุ และตรวจสอบหลังเกิดเหตุ และแก้ไขเพื่อไม่ให้บทเรียนซ้ำรอย ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้ พฤติกรรมบนท้องถนน อยู่บนความรับผิดชอบต่อสังคมรอบข้างมากขึ้น

อ้างอิง
------
• Global status report on road safety 2015
http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2015/en

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ศึกชิงจ้าวสายน้ำ!! แข่งเรือยาวประเพณีบุ่งคล้า

  ศึกชิงจ้าวสายน้ำ แข่งเรือยาวประเพณีบุ่งคล้า 🛶 ร่วมสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมทางสายน้ำอันยิ่งใหญ่ !! ระหว่างวันที่ 15-17 กันยายน 2566 ณ ริมฝั่...